โครงสร้างการเขียนโปรแกรมภาษาซี (C/C++) รวมทั้งการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ลักษณะโครงสร้างของภาษาซีแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน ดังนี้

1. พรีโปรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (Preprocessor directives)
2. ส่วนการกำหนดค่า (Global declarations)
3. ส่วนฟังก์ชั่นหลัก (The main() function)
4. การสร้่างฟังก์ชั่นและการใช้ฟังก์ชั่น (Uses-Defined function)
5. ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program comments)

        โครงสร้างของโปรแกรมประกอบด้วยหลายส่วน แต่ในการเขียนโปรแกรมนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนหมดทุกส่วน ส่วนใดไม่ใช้ก็สามารถตัดทิ้งได้ แต่ทุกโปรแกรมนั้นไม่จำเป็นต้องมีส่วนพรีโปรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ และส่วนฟังก์ชั่นหลัก รายละเอียดของส่วนต่างๆ เป็นดังต่อไปนี้

2.1.1 พรีโปรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (Preprocessor directives)
        ส่วนนี้ทุกโปรแกรมต้องมี จะใช้สำหรับเรียกไฟล์ที่โปรแกรมต้องการในการทำงาน และกำหนดค่าต่างๆ โดยคอมไพล์เลอร์จะกระทำตามคำสั่งก่อนที่จะคอมไพล์โปรแกรม ซึ่งจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย ไดเร็กทีฟ (directive) # และตามด้วยชื่อโปรแกรมหรือชื่อตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่า ส่วนนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ส่วนหัวของโปรแกรม (Header Part)  สำหรับไดเร็กทีฟที่ใช้กันบ่อยๆ ได้แก่
        #include เป็นการแจ้งให้คอมไพเลอร์อ่านไฟล์อื่นเข้ามาคอมไพล์ร่วมด้วย รูปแบบการใช้จะทำโดยเขียน #include แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ ดังนี้

รูปแบบ 

 #include ชื่อไฟล์

เช่น
        #include "stdio.h"        หมายความว่า        อ่านไฟล์ stdio.h เข้ามาด้วย
        #include "pro1.c"        หมายความว่า        อ่านไฟล์ pro1.c เข้ามาด้วย
        การกำหนดชื่อไฟล์ตามหลังด้วย #include นั้น อาจใช้เครื่องหมาย < > คร่อมชื่อไฟล์ก็ได้ ซึ่งจะเป็นการอ่านไฟล์จากไดเร็กทอรี่ที่กำหนดไว้ก่อน แต่ถ้าใช้ "  "  เป็นการอ่านไฟล์จากไดเร็กทอรี่ปัจจุบันที่กำลังติดต่ออยู่ และไฟล์ที่จะ include เข้ามานี้จะต้องไม่มีฟังก์ชั่น main() โดยมากแล้วจะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย ค่าคงที่ หรือข้อกำหนดต่างๆ

        #define เป็นการกำหนดค่านิพจน์ต่างๆ ให้กับชื่อของโปรแกรม โดยมีรูปแบบดังนี้

รูปแบบ 


 #define NAME VALUE

เช่น
        #define JANTARATH 20;         หมายความว่า        กำหนดค่า JANTARATH มีค่าเท่ากับ 20
        #define B 5*6+3;                    หมายความว่า        กำหนด B มีค่าเป็น  A 5*6+3
2.1.2 ส่วนประกาศ (Global declarations)
        ส่วนนี้จะใช้ในการประกาศคตัวแปรหรือฟังก์ชั่นที่ต้องใช้ในโปรแกรม โดยทุกๆ ส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ประกาศไว้ในส่วนนี้ได้ ส่วนนี้บางโปรแกรมอาจไม่มีก็ได้

2.1.3 ส่วนฟังก์ชั่นหลัก (main( ) function)
        ส่วนนี้ทุกโปรแกรมต้องมี ซึ่งจะประกอบไปด้วยประโยคคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงานโดยนำคำสั่งต่างๆ มาเรียงต่อกัน และแต่ละประโยคคำสั่งจะจบด้วยเครื่องหมาย เซมิโคลอน (semi colon ; ) โดยโปรแกรมหลักนี้จะเร่ิมต้นด้วย main( ) ตามด้วยเครื่องหมาย { และจบด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด }

2.1.4 ส่วนกำหนดฟังก์ชั่นขึ้นใช้เอง (Uses-defined functions)
        เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชั่นต่างๆ ขึ้นใช้ในโปรแกรม โดยต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } และต้องสร้างฟังก์ชั่นหรือคำใหม่ที่ให้ทำงานตามที่เราต้องการให้กับโปรแกรมและสามารถเรียกใช้ได้ ภายในโปรแกรม ตัวอย่างเช่น

รูปแบบ 


#include "stdio.h"
    main()
    {
        function();    /*เรียกใช้ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้น*/
    }
        function();    /*สร้างฟังก์ชั่นใหม่ โดยให้ชื่อว่า function
        {
            return;    /*คืนค่าที่เกิดจากการทำฟังก์ชั่น
        }

2.1.5 ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program comments)
        ส่วนนี้ใช้เขียนคอมเมนต์โปรแกรม เพื่ออธิบายการทำงานต่างๆ ทำให้ผู้ศึกษาโปรแกรมในภายหลังทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อคอมไพล์โปรแกรมส่วนนี้จะถูกข้ามไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น